ข้อบังคับสมาคมผู้ปกครองและครู

โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

- Parent-Teacher Association RST Regulation -

หมวดที่ 1

หมวดทั่วไป

ข้อที่ 1 สมาคมนี้ชื่อว่าสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ย่อ สปค. ร.ส.ท. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า 

Parent-Teacher Association Rattanakosinsomphod Bangkhunthian School ย่อว่า P.T.A.R

ข้อที่ 2 เครื่องหมายสมาคมมีลักษณะเป็นรูปตราสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ใต้ตรามีแถบโค้งเขียนข้อความว่า “สมาคมผู้ปกครองและ

ครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน”

รูปเครื่องหมายสมาคม / School Emblem 

ข้อที่ 3 สํานักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เลขที่ 2 ถนนพระรามที่ 2 ซอย 69 แขวงแสมดํา 

เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 

ข้อที่ 4 วัตถุของสมาคมเพื่อ

  1. เพื่อสร้างความสัมพันธที่ดี ระหว่างผู้ปกครองและครูในอันที่จะร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมให้โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เจริญก้าวหนายิ่งขึ้นไป

  2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนในด้านการเรียนการสอน ศีลธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี การกีฬา ดนตรี และกิจกรรมต่าง ๆ

  3. เพื่อส่งเสริมสวัสดิการและครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

4. เพื่อร่วมกันประกอบกิจกรรมอันเป็นสาธารณกุศล และเป็นประโยชน์แก่สังคม

  5. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทั้งในคําแนะนํา ด้านการศึกษาและอาชีพ ตลอดจนป้องกันแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

  6. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือลัทธิใด

หมวดที่ 2

สมาชิก

ข้อที่ 5 สมาชิกของสมาคม มี 2 ประเภท คือ

  5.1 สมาชิกสามัญได้แก่ บิดา - มารดา หรือผู้ปกครองของผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

  5.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้อุปการคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเขาเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อที่ 6 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  6.1 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

  6.2 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

  6.3 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

  6.4 ไม่ต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องจําคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือ ลหุโทษ การต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น

  6.5 เป็นหรือเคยเป็นบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองของผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

  6.6 นักเรียนเก่าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

ข้อที่ 7 ค่าลงทะเบียน และค่าบํารุงสมาคม

  7.1 สมาชิกสามัญ จะต้องเก็บ

  - ค่าลงทะเบียน

  - ค่าบํารุงสมาคมเป็นรายปี ๆ ละ 200 บาท

ข้อที่ 8 การสมัครเขาเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก ของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดย

มีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อผูสมัครไว้ ณ สํานักงานของสมาคม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิกอื่น ๆ

ของสมาคม (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่า จะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัคร

แล้วเป็นผลประการใด ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว ครูปัจจุบันของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน มีสิทธิ์เป็นสมาชิกสามัญโดย

ต่ำแหน่ง ไม่ต้องเสียค่าบํารุง เว้นแต่แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น

ข้อที่ 9 ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้รับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชําระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบํารุงสมาคมให้เสร็จภายใน 30

วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการและสมาชิกภาพของผู้สมัคร ให้เริ่ม นับตั้งแตวันที่ผู้สมัครได้ชําระเงินค่าลงทะเบียน และค่าบํารุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

แล้วแต่ถ้าผู้สมัครไม่ชําระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบํารุงภายในกําหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อที่ 10 สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็น

สมาชิกของสมาคมได้มาถึงยังสมาคม

ข้อที่ 11 สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

  11.1 ตาย

  11.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติและสมาชิกผู้นั้นได้ชําระหนี้สิน

ยังติดค้างอยูกับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

ข้อที่ 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

  12.1 มีสิทธิ์เข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน

  12.2 มีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

  12.3 มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

  12.4 มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม

  12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่

ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง

12.6 มีสิทธิ์ร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้

คนละ 1 คะแนนเสียง

  12.7 มีสิทธิ์เข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมสามัญใหญ่

  12.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของสมาคมโดยเร่งรัด

  12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

  12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม

  12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

  12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หมวดที่ 3

การดําเนินกิจการของสมาคม

ข้อที่ 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทําหน้าที่บริหารกิจการสมาคม มีจํานวนอย่างน้อย 15 คน อย่างมากไม่เกิน 28 คน คณะกรรมการนี้ได้มาจาก

ที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งนายกสมาคม 1 คน จากสมาชิกที่มิได้เป็นอาจารย์โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ให้หัวหน้าสถานศึกษาโรงเรียน

รัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนเป็นอุปนายกคนที่ 1 และผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง

และให้โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนเลือกสมาชิกซึ่งเป็นอาจารย์โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนไม่เกิน 7 คน เป็นคณะกรรมการบริหาร 

ให้นายกสมาคมและอุปนายกคนที่ 1 ร่วมกันพิจารณาเลือกบุคคลที่เป็นสมาชิกสามัญ ซึ่งมิได้เป็นอาจารย์โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนไมเกิน 16 

คน เป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมให้คณะกรรมการสมาคมทุกคนตามวรรคตนเลือกตั้งกันเองระหว่างคณะกรรมการสมาคม เพื่อดํารงตําแหน่งอุปนายก

คนที่ 2 และอุปนายกคนที่ 3 เลขานุการ 1 คน นายทะเบียน 1 คน ปฏิคม 1 คน ประชาสัมพันธ์ 1 คน เหรัญญิก 1 คน และตําแหน่งอื่น ๆ ตามสมควร ซึ่งตําแหน่งของ

กรรมการสมาคมมีตําแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

13.1 นายกสมาคม ทําหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคมเป็นผู้แทนสมาคมให้การติดต่อบุคคลภายใน และทําหน้าที่เป็นประธาน

ในการประชุมคณะกรรมการและการประชุม คณะกรรมการประชุมใหญ่ของสมาคม

  13.2 อุปนายก ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าแทน แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ 

หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทําหน้าที่ แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกตามลําดับตําแหน่งเป็นผู้กระทําการแทน

  13.3 เลขานุการ ทําหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และ

ปฏิบัติตามคําสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทําหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

  13.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทําบัญชีรายรับ รายจ่ายบัญชี งบดุลของสมาคมและจัดเก็บเอกสาร

หลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ

  13.5 ปฏิคม มีหน้าที่ในการต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของ

สมาคม

  13.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บค่าบํารุงสมาคมของสมาชิก

  13.7 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจกรรมและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาชิก ให้สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

  13.8 กรรมการตําแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกําหนดให้มีขึ้น โดยมีจํานวนเมื่อรวมกับตําแหน่งกรรมการ

ข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจํานวนที่ข้อบังคับได้

  13.9 เพื่อประโยชน์แก่การบริหารงาน ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมคณะกรรมการบริหารอาจตั้งกรรมการผู้ช่วยตําแหน่งหนึ่งจากกรรมการ

ผู้ใช้ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งจากกรรมการบริหาร หรืออาจตั้งอนุกรรมการ หรือตั้งผู้ใดทําหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างหรืออาจตั้ง ผู้ใดผู้หนึ่งเป็น

กรรมการที่ปรึกษาก็ได้

ข้อที่ 14 คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 2 ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตําแหน่งครบตามกําหนดวาระแล้ว แต่คณะ

กรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการก็ให้คณะกรรมการที่ครบกําหนดวาระรักษาราชการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุด

ใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ให้ทําการส่ง

และรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให็เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแตวันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้

จดทะเบียนจากทางราชการ

ขอที่ 15 ตําแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกําหนดตามวาระ ก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสมาคมสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็น

สมควรเข้าดํารงตําแหน่งแทนตําแหนงที่ว่างลงนั้น แตผู้ตํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อที่ 16 กรรมการอาจจะพ้นตําแหน่ง ซึ่งมิใชเป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผล ต่อไปนี้คือ

  16.1 ตาย

  16.2 ลาออก

  16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ

  16.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตําแหน่ง

ข้อที่ 17 คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 2 ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตําแหน่งคณะกรรมการและให้พ้นจาก

ตําแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก

ข้อที่ 18 อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

  18.1 มีอํานาจออกระเบียบต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

  18.2 มีอํานาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่สมาคม

  18.3 มีอํานาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตําแหน่งได้ไม่เกินวาระ

ของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

18.4 มีอํานาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจําปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

  18.5 มีอํานาจแต่งตั้งกรรมการในตําแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้

  18.6 มีอํานาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอํานาจอื่นตามที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้

  18.7 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

  18.8 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกวิสามัญ จํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด ได้เข้าชื่อรองขอให้จัดประชุมใหญ่

วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะขอจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

  18.9 มีหน้าที่จัดทําเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินทรัพย์สิน และการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลัก

วิชาการ และสามารถตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ

  18.10 จัดทําบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ

  18.11 มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้

ข้อที่ 19 ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อที่ 20 การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุมคณะ

กรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กําหนดไว้เป็นอยางอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อที่ 21 ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้า

ประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

ข้อที่ 22 การประชุมใหญ่ของสมาคม มี 2 ประเภท คือ

  22.1 ประชุมใหญ่สามัญ

  22.2 ประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อที่ 23 คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจําปี ๆ ละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี ตามวัน เวลา และสถานที่ 

ซึ่งคณะกรรมการบริหารสมาคม เป็นผู้กําหนดองค์ประชุมใหญ่สามัญ ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน

ข้อที่ 24 การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจมีขึ้นก็ได้โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้นหรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อรวมกันของสมาชิกไม่น้อย

กว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อคณะกรรมการจัดให้มีขึ้น

ข้อที่ 25 การแจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องเป็นลายลักษณอักษร

โดยระบุ วัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกําหนดนัดประชุมไว้ ณ สํานักงานของ

สมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกําหนดการประชุมใหญ่

ข้อที่ 26 ประชุมใหญ่สามัญประจําปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  26.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี

  26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกําหนดวาระ

  26.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี 

  26.5 เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี

ข้อที่ 27 การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติ

มีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อที่ 28 ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่

ทําการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทําหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ 4

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อที่ 29 การเงินการทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการเงินสดของสมาคมถ้ามีให้นําฝากไว้ธนาคารทหารไทย 

สาขาสี่แยกถนนบางขุนเทียน - ถนนพระราม ที่ ๒ 

ข้อที่ 30 การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทําการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือ

เลขานุการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมซึ่งจะถือว่าใช้ได้

ข้อที่ 31 ให้นายกสมาคมมีอํานาจสั่งจายเงินสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจาก

คณะกรรมการ และคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 100,000 (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เพราะถเาจําเป็นจําเป็นต้องจ่ายเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติ

จากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม

ข้อที่ 32 ให้เหรัญญิกมีอํานาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 10,000 (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านี้จะต้องนําฝากธนาคารในบัญชีของ

สมาคมทันที่ที่โอกาสอํานวยให้

ข้อที่ 33 เหรัญญิกจะต้องทําบัญชี รายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือการจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐาน

เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทําการแทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทําการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง

ข้อที่ 34 ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช้กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

ข้อที่ 35 ผู้สอบบัญชี มีอํานาจหน้าที่เรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่

ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

ข้อที่ 36 คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

หมวดที่ 5

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อที่ 37 ข้อบังคับของสมาคม จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุม

ไม่น้อยกว่าครึ่ง ของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่

ข้อที่ 38 การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมายมติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิก

สมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกที่เข้าประชุมทั้งหมดและองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อที่ 39 เมื่อสมาคมจะต้องเลิกไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลือหลังจากที่ได้ชําระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็น

ของกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้ประโยชน์สําหรับโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน