กฎ กระทรวงศึกษาธิการ
กําหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด พ.ศ.2549
- Ministry of Education’s Regulations : At-risk Behaviors -
กฎกระทรวงศึกษาธิการ
กำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2549
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดย อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร ได้แก่เด็กที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดใด ดังต่อไปนี้
(1) ประพฤติตนเกเรหรือข่มเหงรังแกผู้อื่น
(2) มั่วสุมในลักษณะที่ก่อความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้อื่น
(3) เล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงการพนัน
(4) เสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษหรือของมึนเมาอย่างอื่นเข้าไป ในสถานที่เฉพาะเพื่อการจําหน่ายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
(5) เข้าไปในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(6) ซื้อหรือขายบริการทางเพศ เข้าไปในสถานการค้าประเวณีหรือเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี
(7) ประพฤติตนไปในทางชู้สาว หรือส่อไปในทางลามกอนาจารในที่สาธารณะ
(8) ต่อต้านหรือท้าท้ายคําสั่งสอนของผู้ปกครองจนผู้ปกครองไม่อาจอบรมสั่งสอนได้
(9) ไม่เข้าเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ หน้า 4 เล่ม 123 ตอนที่ 84 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 สิงหาคม 2549
ข้อ 2 เด็กที่ประกอบอาชีพที่น่าจะชักนําไปในทางกระทําผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี ได้แก่ เด็กที่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
(1) ขอทานหรือกระทําการส่อไปในทางขอทาน โดยลําพังหรือโดยมีผู้บังคับ ชักนํา ยุยง หรือส่งเสริม หรือ
(2) ประกอบอาชีพหรือกระทําการใด อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
ข้อ 3 เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนําไปในทางกระทําผิดกฎหมาย หรือขัดตอศีลธรรมอันดี ได้แก่เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคล ดังตอไปนี้
(1) บุคคลหรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันมั่วสุม เพื่อก่อความเดือนร้อนรําคาญแก่ผู้อื่น หรือกระทําการอันขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ
(2) บุคคลที่ประกอบอาชีพที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
ข้อ 4 เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนําไปในทางเสียหาย ได้แก่ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือ ให้บริการทางเพศ
(2) เร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน หรือ
(3) ถูกทอดทิ้งหรือถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมอันอาจ ชักนําไปในทางเสียหาย
ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2549
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์