ระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
- Ministry of Education’s Regulations : Student Punishment -
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน และนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ. 2548”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2543
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
“ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารยใหญ่ ผู้อํานวยการอธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้น
“กระทําความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษา
“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทําความ ผิดโดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทําความผิด มี 4 สถาน ดังนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) ทําทัณฑ์บน
(3) ตัดคะแนนความประพฤติ
(4) ทํากิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน้า 19 เล่ม 122 ตอนพิเศษ 35 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 เมษายน 2548
ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกลง หรือ ลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คํานึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้ เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัย และความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สํานึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอํานาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
ข้อ 7 การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทําความผิดไม่ร้ายแรง
ข้อ 8 การทําทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงวาดวยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือ กรณีทําให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบการทําทัณฑ์บนให้ทําเป็นหนังสือและเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทําทัณฑ์บนไว้ด้วย
ข้อ 9 การตัดคะแนนความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากําหนดและให้บันทึก ข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 10 ทํากิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษา กระทําความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด
ข้อ 11 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ